วันอังคารที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

สอบปลายภาค



                                                                      ข้อสอบปลายภาค


คำสั่ง ข้อสอบมีทั้งหมด 7 ข้อ ให้นักศึกษาทำทุกข้อ ห้ามลอกกันเขียนคำตอบโดยใช้สำนวนเหมือนกันถือว่ามิใช่ความคิดของนักศึกษาเอง ปรับให้ตกทั้งคู่ ข้อละ 10 คะแนน


1. กฎหมายทั่วไปกับกฎหมายการศึกษา มีที่มาความเหมือนกันหรือต่างกันอย่างไร อธิบายพร้อมทั้ง ยกตัวอย่างประกอบอย่างย่อ ๆ ให้ได้ใจความพอเข้าใจ.

ตอบ เหมือนกัน เพราะที่ มาของกฎหมาย หรือบ่อเกิดของกฎหมาย (source of law) หมายถึง สภาพที่กฎหมายปรากฏตัว สำหรับประเทศไทยนั้น เมื่อพิจารณาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์อันเป็นกฎหมายพื้นฐาน และพิจารณาตามกฎหมายอื่น ๆ โดยภาพรวมแล้ว จะพบว่ากฎหมายไทยปรากฏตัวอยู่ในสามรูป คือ รูปกฎหมายลายลักษณ์อักษร รูปจารีตประเพณี และรูปหลักกฎหมายทั่วไป
        กฎหมาย (law หรือ legislation) คือ กฎอันมีที่มาจากการตราขึ้นโดยสถาบันหรือผู้มีอำนาจสูงสุดในรัฐ หรือจากจารีตประเพณีอันเป็นที่ยอมรับนับถือ มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ในการบริหารประเทศ ใช้บังคับบุคคลให้ปฏิบัติตาม หรือกำหนดระเบียบแห่งความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลหรือระหว่างบุคคลกับรัฐ
กฎหมายทั่วไปและกฎหมายการศึกษา ล้วนมีที่มาเหมือนกัน

………………………………………………………………………………………………………
2. รัฐธรรมนูญที่ว่าด้วยการศึกษา มีสาระหลักที่สำคัญอย่างไร ในประเด็นอะไรบ้างที่เกี่ยวข้องกับ การศึกษา ยกตัวอย่างประกอบ พอเข้าใจ (รัฐธรรมนูญตั้งแต่แต่ฉบับแรกถึงปัจจุบัน (พ.ศ.2550)

ตอบ รัฐธรรมนูญพ.ศ.2540 ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษามีมาตราที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาโดยตรง 2 มาตรา คือ มาตรา 43 บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ไม่น้อยกว่าสิบสองปีที่รัฐจะต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย การจัดการศึกษาอบรมของรัฐต้องคำนึงถึงการมีส่วนร่วมขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่นและเอกชน ทั้งนี้ ตามที่ กฎหมายบัญญัติ การจัดการศึกษาอบรมขององค์กรวิชาชีพและเอกชนภายใต้การกำกับดูแลของรัฐ ย่อมได้รับความคุ้มครอง ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ 

มาตรา 81 รัฐต้องจัดการศึกษาอบรมและสนับสนุน ให้เอกชนจัดการศึกษาอบรมให้เกิดความรู้คู่คุณธรรม จัดให้มีกฎหมายเกี่ยวกับการศึกษาแห่งชาติ ปรับปรุงการศึกษาให้สอดคล้อง กับความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม สร้างเสริมความรู้ และปลูกฝังจิตสำนึกที่ถูกต้องเกี่ยวกับการเมืองการปกครอง ในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข สนับสนุนการค้นคว้าวิจัยในศิลปวิทยาการต่าง ๆ เร่งรัดพัฒนา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาประเทศ จะเห็นได้ว่า มีรัฐธรรมนูญฉบับนี้ฉบับเดียวที่ระบุให้มีกฏหมายเกี่ยวกับการศึกษาแห่งชาติ(มาตรา 81) ซึ่งมีผลทำให้เกิด พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และกฏหมายการศึกษาอื่นอีกหลายฉบับ ซึ่งถือเป็นประวัติศาสตร์ของการปฏิรูปการศึกษาครั้งสำคัญของเมืองไทยยุคหนึ่ง
รัฐธรรมนูญพ.ศ.2550 ก็มีสาระที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา ระบุเอาไว้ส่วนที่ 8 สิทธิและเสรีภาพในการศึกษา มี 2 มาตรา คือ
มาตรา 49 บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่าสิบสองปีที่รัฐจะต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ โดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย ผู้ยากไร้ ผู้พิการหรือทุพพลภาพ หรือผู้อยู่ในสภาวะยากลำบาก ต้องได้รับการสนับสนุนจากรัฐเพื่อให้ได้รับการศึกษาโดยทัดเทียมกับบุคคลอื่น การจัดการศึกษาอบรมขององค์กรวิชาชีพหรือเอกชน การศึกษาทางเลือกของประชาชน การเรียนรู้ด้วยตนเอง และการเรียนรู้ตลอดชีวิต ย่อมได้รับการคุ้มครองและส่งเสริมที่เหมาะสมจากรัฐ

มาตรา50 บุคคลย่อมมีเสรีภาพในทางวิชาการ การศึกษาอบรม การเรียนการสอน การวิจัย และการเผยแพร่งานวิจัยตามหลักวิชาการย่อมได้รับการคุ้มครอง ทั้งนี้ เท่าที่ไม่ขัดต่อหน้าที่ของพลเมืองหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
…………………………………………………………………………………………………………

3. พระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ มีกี่มาตรา และมีความสำคัญอย่างไร และประเด็นหรือมาตราใดที่ผู้ปกครองต้องปฏิบัติและต้องยึดถือปฏิบัติ

ตอบ พระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ มี 20มาตรา โดย มีความสำคัญว่าด้วยมาตรา 4 ในพระราชบัญญัตินี้ “การศึกษาภาคบังคับ” หมายความว่า การศึกษาชั้นปีที่หนึ่งถึงชั้นปีที่เก้าของการศึกษาขั้นพื้นฐานตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ และประเด็นหรือมาตราที่ผู้ปกครองต้องปฏิบัติและต้องยึดถือปฏิบัติ คือมาตรา 6 ให้ผู้ปกครองส่งเด็กเข้าเรียนในสถานศึกษา เมื่อผู้ปกครองร้องขอ ให้สถานศึกษามีอำนาจผ่อนผันให้เด็กเข้าเรียนก่อนหรือหลังอายุตามเกณฑ์การศึกษาภาคบังคับได้ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนด

หากผู้ปกครองที่ไม่ปฏิบัติตามมาตรา 6 ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาทว่าด้วยมาตราที่13
…………………………………………………………………………………………...........

4. ท่านเข้าใจว่า หากมีใครเข้ามาปฏิบัติการสอนในโรงเรียนที่เปิดการสอนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน กรณีสอนทั้งปีที่ไม่มีใบประกอบวิชาชีพครูนั้น สามารถมาปฏิบัติการสอนได้หรือไม่ ถ้าไม่ได้มีความผิดหรือบทกำหนดโทษอย่างไร ถ้าได้จะต้องกระทำอย่างไรมิให้ผิด ตามพระราชบัญญัตินี้

ตอบ ปฎิบัติการสอนได้ โดยดำเนินการตาม คุรุสภา ประกาศหลักเกณฑ์การให้บุคคลประกอบวิชาชีพทางการศึกษา โดยไม่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ
พระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๖ มาตรา ๔๖ กำหนดห้ามมิให้ผู้ใดแสดงด้วยวิธีใดๆ ให้ผู้อื่นเข้าใจว่าตนมีสิทธิ หรือพร้อมจะประกอบวิชาชีพ โดยไม่ได้รับใบอนุญาตจากคุรุสภา และห้ามมิให้สถานศึกษารับผู้ไม่ได้รับใบอนุญาตเข้าประกอบวิชาชีพควบคุมในสถานศึกษา เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากคุรุสภาเนื่องจากเหตุผลและความจำเป็นของสถานศึกษาในการพัฒนาการศึกษา ซึ่งต้องใช้บุคคลเข้าประกอบวิชาชีพ เพื่อจัดการเรียนการสอนด้วยเหตุที่ไม่สามารถสรรหาผู้ที่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเข้ามาดำเนินการสอนได้ คณะกรรมการคุรุสภาในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๕๗ เมื่อวันที่ ๓๐ มกราคม ๒๕๕๗ และครั้งที่ ๒/๒๕๕๗ วันที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗ มีมติอนุญาตให้บุคคลเข้าประกอบวิชาชีพครู โดยไม่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพได้ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการอนุญาต ดังนี้

คุณสมบัติการพิจารณาอนุญาต
ผู้ที่จะขอเข้าประกอบวิชาชีพครู โดยไม่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ ต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้
๑. มีอายุไม่ต่ำกว่า ๒๐ ปี
๒. มีคุณวุฒิตามข้อใดข้อหนึ่ง ดังต่อไปนี้

(๑) มีคุณวุฒิไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทางการศึกษา หรือเทียบเท่า
(๒) มีคุณวุฒิไม่ต่ำกว่าปริญญาตรี ที่ ก.ค.ศ.รับรอง ซึ่งกำหนดเป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับการบรรจุแต่งตั้งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาตำแหน่งครู และเป็นวุฒิปริญญาในสาขาที่สอดคล้องกับระดับชั้นที่เข้าสอน ตามที่คุรุสภากำหนด ยกเว้นโรงเรียนในพระราชดำริ โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน โรงเรียนโครงการพิเศษต่างๆ ที่ได้รับการอนุมัติจากหน่วยงานต้นสังกัด และมีคะแนนเฉลี่ย ๒.๕ ขึ้นไป โรงเรียนถิ่นทุรกันดาร หรือโรงเรียนเสี่ยงภัย ตามประกาศของทางราชการ และจัดให้มีการอบรมในเรื่องการเรียนรู้เกี่ยวกับการเรียนการสอนเบื้องต้นด้วย
๓. ต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่กำหนดไว้ในมาตรา ๔๔ แห่งพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๖

เงื่อนไขการอนุญาต
๑. สถานศึกษาชี้แจงเหตุผลความจำเป็น หรือความขาดแคลน ต้องรับบุคคลเข้าประกอบวิชาชีพครู
๒. สถานศึกษาจะต้องแนบประกาศการรับสมัครและการสรรหาบุคคลเข้าประกอบวิชาชีพครู
๓. สถานศึกษาจะต้องแนบคำสั่งของคณะกรรมการของสถานศึกษาในการคัดเลือกบุคคลเข้าประกอบชาชีพครู
๔. สถานศึกษาต้องขออนุญาตเป็นการเฉพาะราย ผ่านต้นสังกัด โดยจะต้องปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาภายใต้เงื่อนไขที่กำหนดไว้ในหนังสืออนุญาตเท่านั้น ภายใต้การควบคุมของผู้บริหารสถานศึกษา
๕. ระยะเวลาการอนุญาตครั้งละไม่เกิน ๒ ปี และต้องพัฒนาตนเองให้มีคุณสมบัติตามข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณของวิชาชีพ พ.ศ. ๒๕๔๘ เพื่อขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูต่อไป
๖. หากผู้ได้รับอนุญาตให้ประกอบวิชาชีพครู โดยไม่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ ฝ่าฝืนจรรยาบรรณของวิชาชีพ หรือปฏิบัติการสอนผิดเงื่อนไข หรือไม่สามารถพัฒนาตนเองตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไขการอนุญาต การอนุญาตดังกล่าวเป็นอันสิ้นสุด มติคณะกรรมการคุรุสภาครั้งที่ ๘/๒๕๕๗ วันที่ ๒ มิถุนายน ๒๕๕๗ และครั้งที่ ๑๒/๒๕๕๗ วันที่ ๒๑ สิงหาคม ๒๕๕ อนุญาตให้ผู้ประกอบวิชาชีพครู โดยไม่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ ขออนุญาตฯ ครั้งที่ ๒ และครั้ง ๓ ได้อีกไม่เกิน ๒ ปี แต่จะต้องพัฒนาตนให้มีคุณสมบัติในการขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู
………………………………………………………………………………………………………

5. สมบัติ เป็นครูโรงเรียนแห่งหนึ่ง ได้ประพฤติผิดกระทำทารุณกรรมต่อเด็กหรือเยาวชน หากเราพิจารณาตามพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 จะต้องทำอย่างไร และมีบทลงโทษอย่างไร

ตอบ สมบัติ ประพฤติผิดตามตามพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 หมวดที่2การปฏิบัติต่อเด็ก มาตรการต่างๆ ที่สำคัญเพื่อคุ้มครองเด็กทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ ชื่อเสียงหรือสิทธิประโยชน์อื่นของเด็ก เช่น ห้ามบุคคลใดกระทำการอันเป็นการทารุณกรรมเด็ก, ห้ามบุคคลใดบังคับ ขู่เข็ญ ส่งเสริมหรือยินยอมให้เด็กประพฤติตนไม่สมควรหรือเสี่ยงต่อการกระทำผิดในด้านต่างๆ เป็นต้นและเพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติตาม พ.ร.บ. ฉบับดังกล่าวนี้ จึงได้กำหนดให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจและหน้าที่พิเศษบางประการ เช่น อำนาจในการตรวจค้นสถานที่, มีหนังสือเรียกบุคคลมาให้ถ้อยคำ,เรียกให้ส่งเอกสารหรือหลักฐานต่างๆ เป็นต้น เราถือว่า สมบัติ ฝ่าผืน พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 ต้องได้รับโทษ ตามหมวด ๙ บทกำหนดโทษ กำหนดโทษทางอาญาแก่บุคคลผู้กระทำการฝ่าฝืนบทบัญญัติต่างๆ ตามที่พ.ร.บ. ฉบับนี้ได้กำหนดไว้ ทั้งนี้เพื่อให้กฎหมายฉบับนี้ใช้บังคับได้จริงและบรรลุผลตามความมุ่งหมายนั้นเอง
………………………………………………………………………………………………………

6. ช่วงที่นักศึกษาไปทดลองสอนที่โรงเรียนเทอม 2 และในเทอมต่อไป นักศึกษาเข้าไปทดลองสอนจริง นักศึกษาคิดว่าจะนำกฎหมายการศึกษาไปใช้โดยกำหนดคนละ 2 ประเด็นที่คิดว่าจะนำกฎหมาย ไปใช้ได้ พร้อมยกตัวอย่างประกอบ

ตอบ ประเด็นที่1 มาตรา ๒๒ การจัดการศึกษา ต้องยึดหลักว่า ผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้ และ พัฒนาตนเองได้ และ ถือว่า ผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด กระบวนการจัดการศึกษา ต้องส่งเสริมให้ ผู้เรียน สามารถ พัฒนาตามธรรมชาติ และ เต็มตามศักยภาพ
เช่น ตามการเรียนรู้ในศตวรรษที่21 คือการเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ครูต้องเปิดกว้างทางความคิดให้นักเรียนได้คิด ก่อน

       ประเด็นที่2 มาตรา ๒๔ การจัดกระบวนการเรียนรู้ ให้สถานศึกษา และ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการ ดังต่อไปนี้
(๑) จัดเนื้อหาสาระ และ กิจกรรม ให้สอดคล้องกับ ความสนใจ และ ความถนัด ของ ผู้เรียน โดยคำนึงถึง ความแตกต่าง ระหว่างบุคคล
(๒) ฝึกทักษะ กระบวนการคิด การจัดการ การเผชิญสถานการณ์ และ การประยุกต์ความรู้ มาใช้เพื่อ ป้องกัน และ แก้ไขปัญหา
(๓) จัดกิจกรรมให้ ผู้เรียน ได้เรียนรู้ จาก ประสบการณ์จริง ฝึกการปฏิบัติให้ทำได้ คิดเป็น และ ทำเป็น รักการอ่าน และ เกิดการใฝ่รู้ อย่างต่อเนื่อง
(๔) จัดการเรียนการสอน โดยผสมผสาน สาระความรู้ด้านต่างๆ อย่างได้สัดส่วนสมดุลกัน รวมทั้ง ปลูกฝัง คุณธรรม ค่านิยมที่ดีงาม และ คุณลักษณะ อันพึงประสงค์ ไว้ในทุกวิชา
(๕) ส่งเสริมสนับสนุน ให้ผู้สอน สามารถจัด บรรยากาศ สภาพแวดล้อม สื่อการเรียน และ อำนวยความสะดวก เพื่อให้ผู้เรียน เกิดการเรียนรู้ และ มีความรอบรู้ รวมทั้ง สามารถ ใช้การวิจัย เป็นส่วนหนึ่ง ของ กระบวนการเรียนรู้ ทั้งนี้ ผู้สอน และ ผู้เรียน อาจเรียนรู้ ไปพร้อมกัน จาก สื่อการเรียนการสอน และ แหล่งวิทยาการ ประเภทต่างๆ
(๖) จัดการเรียนรู้ ให้เกิดขึ้นได้ ทุกเวลา ทุกสถานที่ มีการประสานความร่วมมือ กับ บิดามารดา ผู้ปกครอง และ บุคคล ในชุมชนทุกฝ่าย เพื่อ ร่วมกันพัฒนาผู้เรียน ตามศักยภาพ
เช่น จัดการเรียนการสอนให้น่าสนใจ มีกิจกรรมสอดแทรก ในการสอน เช่นการเล่นเกมคณิตศาสตร์ การเล่าเรื่อง การคิดเลขเร็ว เป็นต้น

………………………………………………………………………………………………………

7. ให้นักศึกษาสะท้อนความคิดการใช้ เว็บล็อก (weblog) ในการนำมาใช้จัดการเรียนการสอนวิชานี้ พอสังเขป

ตอบ การใช้ weblogในความคิดของดิฉัน ดิฉันคิดว่าอย่างแรกเลยคือ การนำมาใช้ในการการเรียนการสอน ช่วยให้สะดวกไม่ต้องใช้ชีสหรือเอกสาร สำหรับบันทึกเรื่องราว ข่าวสาร ความรู้และประสบการณ์ต่าง ๆ ในสิ่งที่ผู้เล่าสนใจ เป็นการถ่ายทอดสิ่งที่ถูกบันทึกไว้ในสมองลงสู่ตัวหนังสือการเขียนต้องมีอิสระทางความคิดในรูปแบบที่เป็นตัวของตัวเอง สามารถสะท้อนความคิดเห็น แลกเปลี่ยนความคิดเห็นได้ และการเขียน webblog อยู่เป็นประจำก็จะสามารถนำมาสู่การสร้างขุมความรู้ ( Knowledge Assets ) อย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ การเก็บรวบรวมและการแก้ไขหรือเพิ่มเติมความรู้ก็ทำได้โดยสะดวก รวดเร็ว 
..............................................................................................................................................................








ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น